ขยะรีไซเคิลเป็นได้มากกว่าที่คิด!
3 วิธีที่คุณก็ทำได้ในการเปลี่ยนขยะให้เป็นของใหม่

เราอยากชวนเพื่อนๆ Members มาทำอะไรอย่างหนึ่งกัน เริ่มจากลองดูว่าของรอบตัวเรามีอะไรที่เราไม่ใช้แล้ว หรือเป็นขยะที่นำมารีไซเคิลได้บ้าง จากนั้นลองคิดต่อว่าเราจะทำอะไรกับของพวกนี้ได้ไหมที่เป็นการนำกลับมาใช้ในรูปแบบใหม่ หรือว่านำไปจัดการอย่างถูกต้อง

ที่ชวนให้คิดเรื่องนี้ก็เพราะว่าทุกวันนี้โลกของเราต้องรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากขยะอยู่แล้ว การร่วมกันหาวิธีที่จะจัดการกับขยะเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเริ่มต้นด้วยการแยกขยะให้ถูกประเภท ถึงขยะให้ถูกที่ ไปจนถึงการรีไซเคิลหรืออัพไซเคิลให้เป็นของใหม่ จึงถือว่ามีส่วนช่วยโลกได้ทั้งนั้น

เพื่อเป็นไอเดียในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เราขอนำเสนอวิธีที่คุณเองก็ทำได้ รวมถึงยังมีประโยชน์ต่อโลกและได้ช่วยเหลือคนอื่นๆ อีกด้วย

เปลี่ยนขยะให้เป็นงานศิลปะ

เอ๋-วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการใช้ความสามารถในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทุกประเภทให้เป็นงานศิลปะ โดยนอกจากจะใช้ผลงานของตัวเองเป็นสื่อกลางในการสื่อสารถึงปัญหานี้ วิชชุลดายังนำของคนที่มองว่าเป็นขยะมาใช้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และจำหน่ายในรูปแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม

ลองเข้าไปดูผลงานของเธอได้ที่ wishulada-art.com แล้วคุณจะเห็นว่า ยังมีอะไรอีกมากที่คุณสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนของที่ไม่ใช้แล้วให้กลายมาเป็นของใหม่ คุณจะได้เห็นผลงานศิลปะที่มาจากความเชื่อที่ว่า ไม่มีสิ่งใดไร้ค่า และทุกคนมีศักยภาพในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้กับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง เราเชื่อว่าผลงานของเธอน่าจะเป็นแรงบันดาลใจหรือจุดประกายไอเดียใหม่ๆ ให้กับคุณได้

เปลี่ยนขยะเป็นของที่ช่วยเหลือผู้อื่นได้

ขยะอลูมิเนียมเป็นขยะประเภทที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นห่วงจากฝากระป๋องเครื่องดื่ม กระป๋องน้ำอัดลม คลิปหนีบกระดาษ ไปจนถึงเศษจากข้อต่อหรือบานพับต่างๆ ที่ไม่ใช้แล้ว ก็สามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และเปลี่ยนเป็นของใหม่ได้ทั้งนั้น

ตัวอย่างที่เราอยากแนะนำ เพราะทั้งช่วยโลกและช่วยคนอื่นๆ ได้ในเวลากันก็คือ การเปลี่ยนขยะอลูมิเนียมให้เป็นขาเทียม เพื่อนำไปบริจาคให้ผู้พิการทั่วประเทศ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านทางการแยกและส่งขยะประเภทนี้ไปที่มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี↗

คุณสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำเรื่องราวดีๆ ได้ เพียงคัดแยกขยะประเภทอลูมิเนียมไว้ ล้างให้สะอาด บีบหรือทับให้แบนในกรณีที่เป็นกระป๋อง บรรจุลงกล่องขนาดไม่เกิน 5 กก./กล่อง แล้วจ่าหน้าถึง โครงการบริจาคอลูมิเนียมเพื่อจัดทำขาเทียมพระราชทาน กรมควบคุมมลพิษ เลขที่ 92 ซ.พหลโยธิน 7 ถ.พหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 ซึ่งสามารถนำส่งฟรีได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2566 ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ

เปลี่ยนขยะเป็นโทรศัพท์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่

สำหรับผู้ใช้งาน Samsung มีอีกวิธีที่สามารถช่วยโลกได้ง่ายๆ ด้วยการเข้าร่วมโปรโมชันเก่าแลกใหม่ที่ให้คุณนำสมาร์ทโฟนเครื่องเก่ามาแลกซื้อสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตเครื่องใหม่ได้ พร้อมกับส่วนลดพิเศษทันที หรือโครงการที่สนับสนุนการรีไซเคิลและอัพไซเคิล อย่างเช่น โครงการ Samsung Recycling ที่ชวนคุณมารักษ์โลกด้วยกันด้วยการกำจัดขยะ E-waste อย่างถูกที่ ถูกวิธี พร้อมร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งที่ศูนย์บริการซัมซุง และโครงการ Galaxy Upcycling at Home ซึ่งคืนชีวิตให้สมาร์ทโฟนเก่า ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของ IoT ซึ่งทั้งโปรโมชันและโครงการต่างๆ มีส่วนช่วยป้องกันมลพิษที่เกิดจากการทิ้งขยะประเภทนี้ได้ทั้งนั้น

โดยตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา Samsung สามารถรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้รวม 5.07 ล้านตันทั่วโลก ซึ่งมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงถึงประมาณ 17 ล้านตัน นอกจากนี้ Samsung ยังมีแผนว่าจะต้องใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิตให้ได้มากกว่า 50% ของการผลิตสินค้าของ Samsung ทั้งหมด ภายในปี 2573 เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายระยะยาว นั่นคือ การใช้พลาสติกรีไซเคิลให้ได้ 100% ในการผลิต ภายในปี 2593 ซึ่งตัวอย่างหนึ่งของความตั้งใจนี้ก็คือ Samsung Galaxy S23 Ultra ที่ใช้พลาสติกรีไซเคิลจากขวด PET ในองค์ประกอบของกระจกด้านหลังและเคสด้านหน้า

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลกและสร้างโลกที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นไปพร้อมกับเราได้ที่ศูนย์บริการซัมซุงทั่วประเทศ